ยินดีต้อนรับ โรงพยาบาลศรีธาตุเป็นองค์กรชั้นนำแห่งการเรียน ให้บริการสุขภาพแบบองค์รวม ที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน โดยชุมชนมีส่วนร่วม

ความปลอดภัยในเรื่องยา

ความปลอดภัยในการใช้ยา

1.  ความหมายและประเภทของยา

                ยาเป็นปัจจัยพื้นฐานของมนุษย์ ยาสามารถช่วยในการป้องกันและรักษาโรคได้ 
ขณะเดียวกัน ยาก็มีอันตรายต่อสุขภาพและชีวิต ถ้าเราไม่รู้จักวิธีการใช้ที่ถูกต้อง 
ดังคำกล่าวที่ว่า “ยามีคุณอนันต์ แต่มีโทษมหันต์”

1.1  ความหมายของยา

                ตามพระราชบัญญัติยา พุทธศักราช 2522 ได้ให้ความหมายว่า “ยา” หมายถึง
สารที่ใช้ในการวิเคราะห์ บำบัดรักษา ป้องกันโรคหรือความเจ็บป่วยของมนุษย์และสัตว์ 
รวมทั้งใช้บำรุง และเสริมสร้างสุขภาพร่างกายและจิตใจด้วย

1.2  ประเภทของยา

                พระราชบัญญัติยาฉบับที่  3  พุทธศักราช 2522  ได้จำแนกประเภทของยา
เป็น 5 ประเภท  คือ

1)  ยาแผนปัจจุบัน  หมายถึง ยาที่ใช้รักษาโรคแผนปัจจุบันทั้งในคนและสัตว์ เช่น 
ยาลดไข้ ยาปฏิชีวนะ ยาแก้ปวด ยาแก้แพ้ เป็นต้น

2)  ยาแผนโบราณ  หมายถึง  ยาที่ใช้รักษาโรคแผนโบราณทั้งในคนและสัตว์ 
ยาชนิดนี้จะต้องขึ้นทะเบียนเป็นตำรับยาแผนโบราณอย่างถูกต้อง เช่น 
ยามหานิลแท่งทอง ยาธาตุบรรจบ ยาเทพมงคล ยาเขียวหอม เป็นต้น

3)  ยาอันตราย  หมายถึง  ยาที่ต้องควบคุมการใช้เป็นพิเศษ เพราะหากใช้ยาประเภทนี้
ไม่ถูกต้อง อาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ เช่น ยาปฏิชีวนะชนิดต่างๆ ยาจำพวก
ลดความดันเลือด ยาจำพวกแก้คลื่นเหียนอาเจียน เป็นต้น

4) ยาสามัญประจำบ้าน หมายถึง ยาทั้งที่เป็นแผนปัจจุบัน และแผนโบราณ ซึ่งกำหนด
ไว้ในพระราชบัญญัติยาว่าเป็นยาสามัญประจำบ้าน เช่น ยาธาตุน้ำแดง ยาขับลม ยาเม็ด
ซัลฟากัวนิดีน ยาระบายแมกนีเซีย ดีเกลือ ยาเม็ดพาราเซตามอล เป็นต้น

5)  ยาสมุนไพร  หมายถึง ยาที่ได้จากพืช สัตว์ หรือแร่ ซึ่งยังไม่ได้นำมาผสม หรือ
เปลี่ยนสภาพ เช่น ว่านหางจระเข้ กระเทียม มะขาม มะเกลือ นอแรด เขี้ยวเสือ 
ดีงูเหลือม ดีเกลือ สารส้ม จุนสี เป็นต้น

                นอกจากยาทั้ง 5 ประเภทที่กล่าวมาแล้ว ยังมียาที่ใช้ภายนอก สำหรับใช้
ภายนอก ยาใช้เฉพาะที่ สำหรับใช้เฉพาะที่กับผิวหนัง หู ตา จมูก ปาก ทวารหนัก 
ช่องคลอด หรือท่อปัสสาวะ และยาบรรจุเสร็จ คือยาแผนปัจจุบันที่ผลิตขึ้นเสร็จในรูป
ต่างๆ และมีฉลากครบถ้วนตามกฎหมาย ยาควบคุมพิเศษ เป็นยาที่มีอันตรายมาก 
ไม่ว่าผู้ใช้จะใช้ถูกวิธีหรือไม่ ดังนั้น การใช้ยากประเภทนี้จึงต้องอยู่ในความควบคุม
ของแพทย์ และแพทย์จะใช้ยาประเภทนี้ก็ต่อเมื่อมีความจำเป็นจริงๆ เท่านั้น ยาชุด 
หมายถึง ยาที่ผู้ขายจัดรวมไว้เป็นชุดให้กับผู้ซื้อ สำหรับให้กินครั้งละ 1 ชุดรวมกันหมด 
โดยไม่แยกว่าเป็นยาชนิดใด ควรจะกินเวลาไหน โดยทั่วไปมักจะมียาตั้งแต่ 3 - 5 เม็ด 
หรืออาจมากกว่า และอาจจัดรวมยาชุดไว้ในซองพลาสติกเล็กๆ พิมพ์ฉลากบ่งบอก
สรรพคุณไว้ด้วย

 

 

 

 

2.  ประเภทและวิธีการใช้ยาสามัญประจำบ้าน

ยาสามัญประจำบ้านทั้งยารับประทานและยาใช้ภายนอก มีดังนี้

1.  ประเภทยารับประทาน

ชื่อยา

ใช้รักษาโรค / 
การเจ็บป่วย

ขนาด / 
ปริมาณที่ใช้

ข้อควรระวัง

แอสไพริน 300 มิลลิกรัม 
ขนาดบรรจุ 10 เม็ด

1.  แก้ปวดศีรษะ ยกเว้นมีอาการปวดท้องจากโรคกระเพาะอาหาร

2. ลดไข้ทุกชนิด ยกเว้นไข้เลือดออก

-  ผู้ใหญ่รับประทานขนาด 100 มิลลิกรัม ครั้งละ 1 - 2 เม็ด ทุก 3 - 4 ชั่วโมง

-  เด็กต่ำกว่า 2 ขวบ รับประทานขนาด 25 มิลลิกรัม (หรือแอสไพรินเด็ก)

-  เด็ก 2 - 3 ขวบ ใช้แอสไพรินเด็ก ครั้งละ 50 มิลลิกรัม

- เด็ก 3 - 4 ขวบ ใช้แอสไพรินผู้ใหญ่ ครั้งละ 1/2 เม็ด

1.  แอสไพรินเป็นกรด อาจทำให้ระคายกระเพาะอาหารจึงต้องรับประทานหลังอาหาร หรือเคี้ยวก่อนและดื่มน้ำมากๆ

2.  คนเห็นโรคกระเพาะอาหารไม่ควรใช้แอสไพริน เพราะจะทำให้เลือดออกง่าย

3.  คนที่เป็นโรคเลือดง่ายไม่ควรใช้แอสไพริน เพราะจะทำให้เลือดออกง่ายยิ่งขึ้น

พาราเซตามอล 500 มิลลิกรัม 
ขนาดบรรจุ 10 เม็ด

ใช้ลดไข้ แก้ปวด (มีฤทธิ์อ่อนกว่าแอสไพริน)

- ผู้ใหญ่รับประทานครั้งละ 1-2 เม็ด

- เด็กรับประทาน ครั้งละ 1 เม็ด

- เด็กเล็กควรใช้ชนิดน้ำเชื่อม

ใช้แทนแอสไพรินในกรณีที่ใช้แอสไพรินไม่ได้

ยาแก้แพ้คลอเฟนิรามีน

1. แก้หวัดคัดจมูกน้ำมูกไหล

2. เป็นลมพิษผื่นคัน

- ผู้ใหญ่รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 2-3 ครั้ง

- เด็กรับประทานครั้งละ 1/2 เม็ด

เมื่อรับประทานแล้วจะมีอาการง่วงนอนจึงควรนอนพักไม่ควรทำกิจกรรม

ยาธาตุน้ำแดง

ใช้แก้ปวดท้อง ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ ช่วยเจริญอาหาร

- ผู้ใหญ่รับประทานครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ วันละ 3 เวลา ก่อนอาหาร

- เด็กลดขนาดลงตามส่วน

 

ยาเม็ดโซดามินต์

ใช้แก้อาหารท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย แน่น จุกเสียด ปวดท้อง

- ผู้ใหญ่รับประทานครั้งละ 2-6 เม็ด

- เด็กรับประทานครั้งละ 1-2 เม็ด

 

น้ำมันละหุ่งหอมหวาน

ใช้สำหรับถ่ายท้อง
แก้ท้องผูก

- ผู้ใหญ่รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ ก่อนนอน

- เด็กรับประทาน ครั้งละ 1 ช้อนชา ก่อนนอน

ห้ามรับประทานเกินกว่าขนาดที่กำหนด เพราะจะทำให้ถ่ายมากกว่าปกติ

ยาเม็ดลดกรด

ใช้แก้อาการปวดท้องจากโรคกระเพาะอาหาร

เคี้ยวครั้งละ 1-2 เม็ด เมื่อปวดท้อง หรือวันละ 3-4 ครั้ง

 

อะลัมมิลค์

ใช้แก้โรคกระเพาะอาหาร เพื่อเคลือบกระเพาะ

รับประทานครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ เมื่อปวดท้อง หรือวันละ 3-4 ครั้ง

 

ยาระบายแมกนีเซีย
หรือยาถ่ายน้ำขาว

ใช้เป็นยาระบายแก้ท้องผูก และใช้เป็นยาลดกรดได้

ผู้ใหญ่รับประทาน ครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ

 

ยาถ่ายพยาธิ เช่น ยาเม็ดมีเบนดาโซล (Mebendazole) 
ยามีเบนดาโซลชนิดน้ำเชื่อม (Mebendazole suspension)

ใช้ถ่ายพยาธิไส้เดือน (ตัวกลม) พยาธิเส้นด้าย (เข็มหมุด) พยาธิปากขอ พยาธิตัวตืด

- ผู้ใหญ่หรือเด็กโต รับประทานก่อนอาหารเย็น ครั้งเดียว 8 ช้อนชา ใช้ถ่ายพยาธิไส้เดือน

- เด็กเล็ก (น้ำหนักต่ำกว่า 20 กิโลกรัม) รับประทาน 6 ช้อนชา ใช้ถ่ายพยาธิเส้นด้าย ให้รับประทานตามขนาดต่อไปนี้ติดต่อกัน 7 วัน

- เด็ก 1-3 ขวบ ครั้งละ 1/2 ช้อนชา เช้า - เย็น หลังอาหาร

- เด็ก 4-6 ขวบ ครั้งละ 1 ช้อนชา เช้า - เย็น หลังอาหาร

- เด็ก 7-14 ขวบ ครั้งละ 1 ช้อนชา เช้า - เย็น หลังอาหาร

- เด็กอายุ 14 ปีขึ้นไป ครั้งละ 2 ช้อนชา เช้า - เย็น หลังอาหาร

- ถ้าเป็นยาถ่ายพยาธิชนิดเม็ดเบนดาโซล ใช้ได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ รับประทานหลังอาหาร เช้า-เย็น ครั้งละ 1 เม็ด ติดต่อกัน เป็นระยะเวลา 3 วัน
ส่วนชนิดน้ำเชื่อม รับประทานครั้งละ 1 ช้อนชา

ไม่จำเป็นต้องใช้ยาถ่ายตาม แต่ถ้าท้องผูกควรรับประทานดีเกลือกับอาหารเช้าวันรุ่งขึ้น

ยาแก้ไอน้ำเชื่อม

แก้ไอ ขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ

- ผู้ใหญ่รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนชา วันละ 3-4 ครั้ง

- เด็กลดลงตามส่วน

เด็กเล็กๆ ไม่ควรให้รับประทานยาแก้ไอ เพราะยาแก้ไอมีส่วนผสมของโคเคอีน ซึ่งกดศูนย์หายใจ อาจทำให้เด็กหยุดหายใจได้

ยาแก้ไอน้ำดำ

แก้ไอ ขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ

- ผู้ใหญ่รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนชา วันละ 3-4 ครั้ง หรือจิบบ่อยๆ

- เด็กลดขนาดลงตามส่วน

 

2.  ประเภทยาใช้ภายนอก

ชื่อยา

ใช้รักษาโรค / การเจ็บป่วย

ขนาด / ปริมาณที่ใช้

ข้อควรระวัง

ทิงเจอร์มหาหิงคุ์

แก้ปวดท้อง ท้องขึ้น ท้องเฟ้อในเด็ก

ใช้สำลีชุบทาบาง ๆ ที่หน้าท้องวันละ 2-3 ครั้ง

 

น้ำมันยูคาลิปตัส

แก้หวัด คัดจมูก เจ็บคอ

ใช้สำลีชุบสูดดม หรือทาคอ

 

ยาดมแก้หวัด

แก้หวัด คัดจมูก เจ็บคอ

ใช้สูดดม ทาคอ หรือทาบริเวณหน้าอก

 

ยากวาดคอ

แก้อาการคออักเสบและเจ็บคอในเด็ก

ผสมน้ำสะอาดเท่าตัว กวาดคอเด็กวันละ 1-2 ครั้ง

 

ยาแก้ปวดฟัน

ระงับอาการปวดฟัน

ใช้ไม้พันสำลีจุ่มยามาจิ้มบริเวณที่ปวดฟัน

ระวังอย่าให้ถูกเหงือกและลิ้น หรือบริเวณเยื่อบุกระพุ้งแก้ม เพราะจำทำให้เป็นแผลได้

เหล้าแอมโมเนียหอม

แก้วิงเวียน หน้ามือ แก้แมลงกัดต่อย หรือถูกพืชที่มีพิษ

   

ขี้ผึ้งกำมะถัน

ใช้รักษาโรคหิด

ทาบริเวณที่เป็นหิด วันละ 2-3 ครั้ง

 

ขี้ผึ้งซัลฟา

ใช้รักษาแผลสดหรือแผลเรื้อรัง

ใช้ทาบางๆ บริเวณแผล

 

ขี้ผึ้งน้ำมันระกำ

ใช้แก้ปวดบวม อักเสบ และเคล็ดขัดยอก

ใช้ทาบริเวณที่ปวดบวมหรือบริเวณที่อักเสบ

 

ยาน้ำแก้ผดผื่นคันหรือคาลาไมน์

ใช้ทาแก้ผดผื่นคัน

ทาบริเวณที่มีผื่นคันจากทุกสาเหตุ

 

ขี้ผึ้งวิทฟิลค์

ใช้รักษากลาก เกลื้อน

ทาบริเวณที่เป็นกลากเกลื้อน วันละ 2-3 ครั้ง

 

ยารักษาหิด เหา

ใช้รักษาหิด และกำจัดเหาและโลน

ใช้รักษาหิด อาบน้ำให้สะอาด ใช้ผ้าหรืแปรงอ่อนๆ ถูตรงผื่นคัน แล้วใช้ยานี้ทาให้ทั่ว ยกเว้นคอและศีรษะ ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง แล้วจึงอาบน้ำ วันรุ่งขึ้นทำซ้ำอีกครั้ง เช่นเดียวกัน ใช้กำจัดเหาและโลน ใส่ยานี้ให้ระวังอย่าให้ยาเข้าตา

 

ทิงเจอร์ไอโอดีน (ปัจจุบันไม่นิยมใช้เพราะมีสีดำ)

ใช้รักษาแผลสด และเกลื่อนฝี (ป้ายที่เริ่มเป็น)

ใช้สำลีที่สะอาดชุบยาทาบริเวณแผลหรือบริเวณที่เป็นฝี

 

ยาแดง

 

ใช้เช่นเดียวกับทิงเจอร์ไอโอดีน แต่ยาแดงออกฤทธิ์ช้ากว่าทิงเจอร์ไอโอดีน แต่ฤทธิ์ของยาอยู่ได้นานกว่า

 

ยาเหลือง

ใช้รักษาแผลเรื้อรัง และแผลที่เป็นหนอง

ทำความสะอาดแผลด้วยน้ำต้มสุกสะอาด แล้วใช้สำลีที่สะอาดชุบยาเหลือง ทาบริเวณแผลวันละ 2-3 ครั้ง

 

ด่างทับทิม

ใช้ล้างแผล ฆ่าเชื้อโรค และใช้แช่ผักสด ผลไม้ ก่อนรับประทานดิบๆ เพื่อฆ่าเชื้อโรค และพยาธิในผัก ผลไม้

ใช้ละลายในน้ำสุกจนเป็นสีบานเย็นอ่อนๆ แล้วใช้ล้างแผลหรือใช้แช่ผักสดและผลไม้

 

 

 

3. หลักการใช้ยาที่ถูกต้องและปลอดภัย

          ยาที่เรานำมาใช้มีอยู่หลายชนิด บางชนิดเราอาจหาซื้อเองได้ แต่บางชนิด
ต้องซื้อตามใบสั่งของแพทย์เท่านั้น เพราะยาเหล่านี้เป็นยาอันตราย ดังนั้นก่อน
ใช้ยา เราจึงควรทราบหลักการใช้ยาให้ถูกต้องดังนี้ี้

1) ก่อนใช้ยาทุกครั้ง ต้องอ่านฉลากยาให้เข้าใจ อ่านให้ละเอียด และปฏิบัติตาม
อย่างเคร่งครัด

2) ใช้ยาให้ตรงกับโรค โดยปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ เพราะจะทำให้
ไม่เป็นอันตราย

3) ใช้ยาให้ถูกวิธี เช่น ไม่แกะผงยาที่อยู่ในแคปซูลมาโรยแผล ยาชนิดที่ใช้ทา
ห้ามนำมารับประทาน เป็นต้น

4) ใช้ยาให้ถูกกับบุคคล ควรใช้ยาให้ถูกกับสภาพของบุคคล เพราะร่างกายของ
แต่ละคน ไม่เหมือนกัน เช่น ยาที่ให้เด็กกิน ต้องมีปริมาณไม่เท่ากับผู้ใหญ่ 
ยาบางชนิดไม่ควรให้หญิงมีครรภ์กิน เพราะอาจเป็นอันตรายต่อลูกในท้องได้

5) ใช้ยาให้ถูกขนาด ควรใช้ยาตามขนาดที่แพทย์หรือเภสัชกรกำหนดไว้ 
เพราะถ้าใช้เกินขนาด อาจเกิดอันตรายต่อร่างกาย หรือถ้าใช้น้อยไป 
อาจจะทำให้การรักษาโรคไม่ได้ผลดี

6) ใช้ยาให้ถูกเวลา ยาแต่ละชนิดจะกำหนดระยะเวลาที่ใช้ไว้ ดังนี้

               ยาก่อนอาหาร ให้กินก่อนอาหาร 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง เพื่อให้ยา
ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ดี

              

               ยาหลังอาหาร ให้กินหลังอาหารทันที หรือไม่เกิน 15 นาที 
ถ้าลืมกินยาในระยะเวลาที่กำหนด ให้กินทันทีที่นึกได้ แต่ถ้าใกล้เวลากินยา
ครั้งต่อไปก็รอกินยาในมือต่อไปในขนาดปกติ

ขอขอบคุณ >>>  http://trangis.com/

paw patrol videos
mybelmont
myvikingjourney
loserfruit
paula patton instagram
encore beach club
tb2k
youtube izlenme satın al
youtube izlenme
Şerit led